บทความ

เป็นอยู่หรือเหล่า? “เครียดสะสม” โดยไม่รู้ตัว

หลายคนอาจเคยรู้สึกเหมือนมี “ภาระหนัก” อยู่บนไหล่ ทั้งความกดดันจากงาน ความคาดหวังในชีวิต หรือปัญหาครอบครัวที่ยากจะจัดการได้

ความเครียดที่มากเกินไปไม่เพียงแต่จะทำให้ร่างกายและจิตใจเหนื่อยล้า แต่ยังสามารถส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันได้

ความเครียด (Stress) เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศทุกวัย ถือเป็นเรื่องปกติที่บางครั้งเราต้องเผชิญ แต่เมื่อความเครียดเหล่านั้นมากเกินไปและไม่สามารถจัดการได้อย่างเหมาะสม นั่นอาจนำไปสู่ภาวะ “เครียดสะสม”

หากมีอาการเครียดสะสมมาก ๆ จะส่งผลกระทบต่อความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ รวมไปถึงพฤติกรรมอีกด้วย

🔵 ด้านร่างกาย

  • ปวดศีรษะ หรือปวดท้อง
  • คลื่นไส้ อาเจียน หรือโรคกระเพาะ
  • ใจสั่น มือสั่น หายใจไม่เต็มอิ่ม
  • ความดันโลหิตสูง หรือเกิดปัญหาเจ็บป่วยติดเชื้อได้ง่าย
  • กล้ามเนื้อเกร็ง หรือปวดเมื่อย

🔵 ด้านจิตใจและอารมณ์

  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
  • ความรู้สึกวิตกกังวล หรือหดหู่
  • ขาดสมาธิ ใจลอย หรือคิดวนเวียน
  • ขาดความภูมิใจในตนเอง หรือซึมเศร้า

🔵 ด้านพฤติกรรม

  • เบื่ออาหาร หรือมีปัญหานอนไม่หลับ
  • รู้สึกไม่อยากทำอะไร หรือขาดความอดทน
  • ประสิทธิภาพการทำงานลดลง
  • ปลีกตัวจากสังคม หรือเริ่มหันไปใช้สารเสพติดหรือแอลกอฮอล์เพื่อคลายเครียด

การให้เวลาตัวเองในการผ่อนคลายและคลายเครียดเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม หากเราไม่ดูแลสุขภาพจิตของเราให้ดี อาจส่งผลให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาได้

ดังนั้นควรหาเวลาพักผ่อนจากความวุ่นวายและให้โอกาสตัวเองได้เติมเต็มพลังใหม่ ๆ อยู่เสมอ